สรุปมาตรการช่วยเหลือประชาชนหลังเหตุแผ่นดินไหว จากกระทรวงการคลัง

สรุปมาตรการช่วยเหลือประชาชนหลังเหตุแผ่นดินไหว จากกระทรวงการคลัง

หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ที่ส่งผลกระทบหลายพื้นที่ในไทย รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ได้เร่งออกมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนอย่างเร่งด่วน เยียวยาแผ่นดินไหว ครอบคลุมทั้งการเงิน การกู้ยืม และการประกันภัย สรุปประเด็นสำคัญดังนี้

1. ขยายวงเงินทดรองราชการช่วยผู้ประสบภัย

  • วงเงิน 200 ล้านบาท ภายใต้อำนาจกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • ครอบคลุมค่าใช้จ่ายดำรงชีพและการฟื้นฟูในทุกจังหวัด

2. มาตรการจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ธนาคารออมสิน

  • พักหนี้ 3 เดือน (ดอกเบี้ย 0%)
  • กู้ฉุกเฉิน/ซ่อมบ้าน วงเงิน 20,000 บาท ดอกเบี้ย 0% 3 เดือน

ธ.ก.ส.

  • กู้ฉุกเฉินไม่เกิน 50,000 บาท ดอกเบี้ย MRR
  • กู้ซ่อมบ้าน/อุปกรณ์เกษตรไม่เกิน 500,000 บาท ดอกเบี้ย MRR – 2

ธอส.

  • พักหนี้ 3 เดือน ดอกเบี้ย 0% (ลูกค้าเดิม)
  • กู้สร้างบ้านใหม่หรือซ่อมไม่เกิน 2 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0% 3 เดือนแรก

SME D Bank

  • พักชำระเงินต้น/ดอกเบี้ยไม่เกิน 12 เดือน
  • กู้เพิ่มไม่เกิน 200,000 บาท ดอกเบี้ย MLR ปลอดเงินต้น 12 เดือน

ธนาคารอิสลามฯ (ธอท.)

  • กู้ซ่อมบ้านหรือฟื้นฟูกิจการ วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท อัตรากำไร 1.99% ปีแรก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

  • ขยายตั๋วเงินสูงสุด 180 วัน / ปรับหนี้เป็นระยะยาวได้ถึง 7 ปี
  • เพิ่มวงเงินหมุนเวียนและพักเงินต้นสูงสุด 1 ปี

บสย.

  • พักค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 6 เดือน
  • พักชำระค่างวด 3 เดือน

ธนาคารกรุงไทย

  • ลดค่างวด 75% สำหรับลูกค้าปัจจุบัน ดอกเบี้ย 0% 3 เดือน
  • กู้ซ่อมบ้าน/ฟื้นฟูธุรกิจ ดอกเบี้ย 0% 3 เดือน

3. มาตรการประกันภัยจาก คปภ.

  • เร่งเข้าสำรวจพื้นที่ประสบภัย ตั้งศูนย์ช่วยเหลือร่วมกับ 4 บริษัทประกันภัย
  • เร่งจ่ายค่าสินไหม และติดตามฐานะบริษัทประกันที่มีประกันต่อกับต่างประเทศ
  • เปิดสายด่วน คปภ. โทร. 1186 ตลอด 24 ชม.

4. การผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

  • ลดอัตราผ่อนบัตรเครดิตขั้นต่ำ
  • เพิ่มวงเงินฉุกเฉิน และขยายเวลาชำระหนี้
  • พักการจัดชั้นหนี้เพื่อไม่ให้ลูกหนี้ตกเป็น NPL
  • สนับสนุนสินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูชีวิตและธุรกิจ

ข้อสรุป เยียวยาแผ่นดินไหว

นายพิชัย ชุณหวชิร ย้ำว่า ระบบเศรษฐกิจของประเทศยังมั่นคงและพร้อมเดินหน้า พร้อมรับรองว่ารัฐบาลจะติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด พร้อมออกมาตรการเพิ่มหากจำเป็น และขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในศักยภาพของภาครัฐและระบบการเงินของประเทศ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า