การปรับปรุง อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2566 เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการรักษาสิทธิ์และความเป็นธรรมของลูกจ้าง ให้พวกเขาได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับค่าครองชีพและไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
ตามประกาศของคณะกรรมการค่าจ้าง อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2566 ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถือเป็นมาตรฐานที่นายจ้างทุกรายต้องปฏิบัติตาม คณะกรรมการค่าจ้างได้กำหนดอัตราค่าแรงนี้โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ค่าครองชีพ, ราคาสินค้าและบริการ, ความสามารถของธุรกิจ, ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมในขณะนั้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความเป็นธรรมให้แก่ลูกจ้างและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
ค่าแรงขั้นต่ำ ของแต่ละจังหวัด
ปัจจุบันนี้ ในภาคแรงงานใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำตามประกาศของพระราชกิจจานุเบกษาด้วยเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นมา โดยแต่ละจังหวัดก็มีค่าแรงขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้
- อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 328 บาท จำนวน 5 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา อุดรธานี และน่าน
- อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 332 บาท จำนวน 22 จังหวัด คือ กำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และอุทัยธานี
- อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 335 บาท จำนวน 19 จังหวัด คือ กาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง และอุตรดิตถ์
- อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 338 บาท จำนวน 6 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก มุกดาหาร สกลนคร และสมุทรสงคราม
- อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 340 บาท จำนวน 14 จังหวัด คือ กระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา ปราจีนบุรี พังงา ลพบุรี สงชลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และอุบลราชธานี
- อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 343 บาท จำนวน 1 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา
- อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 345 บาท จำนวน 1 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา
- อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 353 บาท จำนวน 6 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
- อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 354 บาท จำนวน 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และภูเก็ต